เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 6.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
1. จีวรวรรค

6. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[515] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
เชี่ยวชาญการแสดงธรรมีกถา บุตรเศรษฐีคนหนึ่งเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
จึงไหว้ท่าน นั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ชี้แจงให้บุตร
เศรษฐีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา1
บุตรเศรษฐีนั้นอันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับ
เอาไปปฏิบติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้วจึงปวารณาท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงบอก
ปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ท่านต้องการ
ซึ่งกระผมพอจะจัดหามาถวายได้”

เชิงอรรถ :
1 เรียกว่า ลีลาการสอน หรือ เทศนาวิธี 4 คือ (1) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด (2) สมาทปนา ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ (3) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า (4) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริง (มาในบาลีมากแห่ง วิ.มหา. 1/22-24,290/13-4,222, วิ.ภิกฺขุนี. 3/783/72-3,
วิ.ม. 4/29,89-90,105,132,137/25,106-7,120,146,150, วิ.ม. 5/270,276,280-1, 288,
294,298,337/38,45,50,52,65,74,81,139, วิ.จู. 6/33,192/43-4,225, วิ.จู. 7/260,
268-9,404,445/21,33-4,237,282, ที.สี. 9/344,358/140,150, ที.ม. 10/161-2,
194/87-9,117-8, ที.ปา. 11/34,299/22,189, ม.มู. 12/252,255-6,289/215-217,
253-4, ม.ม. 13/22,285,371/18,261,355, สํ.ส. 15/152-3,155,185,241/135-8,187,
253, สํ.นิ. 16/241/265, สํ.ข. 17/81/77, สํ.สฬา. 18/133/114, องฺ.อฏฺฐก-นวก. 23/12,24,
78,4/156,180,273,296, องฺ.ทสก. 24/93/152, ขุ.อุ. 25/61,71-5/203,212-5, ขุ.อิติ.
25/104/323)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :39 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 6.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ถ้าโยมต้องการถวายแก่อาตมา ก็
จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้”
เขากล่าวว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับบ้าน ดูจะไม่เหมาะ
นิมนต์รอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่งผ้า 1 ผืนจาก 2 ผืนนี้
หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดเป็นครั้งที่ 2 ว่า “ถ้าโยมต้องการถวายแก่
อาตมา ก็จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้” บุตรเศรษฐีก็ยังกล่าวปฏิเสธ
อยู่เหมือนเดิมว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับบ้าน ดูจะไม่เหมาะ
นิมนต์ท่านรอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่งผ้า 1 ผืนจาก 2 ผืนนี้
หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็พูดรบเร้าเป็นครั้งที่ 3 ว่า
“ถ้าโยมต้องการถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้” แต่
เขาก็คงพูดบ่ายเบี่ยงอยู่เหมือนเดิมว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับ
บ้าน ดูจะไม่เหมาะ นิมนต์ท่านรอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่ง
ผ้า 1 ผืนจาก 2 ผืนนี้หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ท่านไม่ต้องการถวาย ก็จะปวารณาไป
ทำไม ปวารณาแล้วไม่ถวาย จะมีประโยชน์อะไร”
เมื่อถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดรบเร้า เขาจึงถวายผ้า 1 ผืน แล้วกลับไป
ถูกชาวบ้านถามว่า “นาย ทำไมนุ่งผ้าผืนเดียวกลับมาเล่า” บุตรเศรษฐีนั้นจึงบอก
เรื่องนั้นให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบ
ชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
มักมากไม่สันโดษ สมณะเหล่านี้แม้จะนิมนต์ตามธรรมเนียม ก็ไม่ใช่กระทำได้ง่าย
ไฉนเมื่อบุตรเศรษฐีทำการนิมนต์ตามธรรมเนียม พระสมณะทั้งหลายก็ยังจะรับเอา
ผ้าไปเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอุปนันทศากยบุตรจึง
ออกปากขอจีวรจากบุตรเศรษฐีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากย
บุตร โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :40 }